image
ค่านิยม :
ซื่อสัตย์ มีวินัย เป็นมืออาชีพ มีความเที่ยงธรรม และประพฤติตนเป็นที่ชื่นชมของบุคคลทั่วไปฯ.
image
วิสัยทัศน์ :
เราคือส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของความพร้อมรบ และความสำเร็จในภารกิจของกำลังรบฯ.
 
Juneheader

 

 

การเลือกซื้อ และการบำรุงรักษา เครื่องปรับอากาศ :

 
aircon3

"เมษายน"ที่ผ่านมาซึ่งเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดและจำนวนการใช้พลังงานมากที่สุด จนคาดการณ์ว่า พลังงานของประเทศไทยจะไม่เพียงพอ จากความร่วมมือของทุกภาคส่วน ก็ทำให้เราผ่านวิกฤตไปได้ จากเหตุการณ์นี้คงจะทำให้ใครหลายๆ คนเริ่มตระหนักและคงจะหันมาให้ความร่วมมือกันมากขึ้น

จะเห็นว่า กรมสรรพาวุธของเรา มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์การประหยัดพลังงานกันอย่างต่อเนื่องและได้รับความร่วมมือกันอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมมือตามนโบายเปิดปิดไฟตามอาคาร และที่สำคัญการให้ความร่วมมือในการใช้เครื่องปรับอากาศย่างคุ้มค่าและงดใช้ในวันพุธ จึงทำให้ลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าของ สพ.ทร. ไปด้วยดี ว่าถึงเรื่องเครื่องปรับอากาศก็จะขอเสนอเรื่องเกี่ยวกับเครื่องปรับอากาศให้กระจ่าง เริ่มตั้งแต่ การเลือกซื้อ ตลอดจนการบำรุงรักษา เพื่อให้การบำรุงรักษา ยืดอายุการใช้งานและประกอบการตัดสินใจสำหรับผู้ที่จะซื้อเครื่องปรับอากาศอีกทางหนึ่ง

 

การคิด BTU แอร์อย่างง่าย

การคำนวณโดยปกติช่างติดตั้งจะใช้ขนาดของพื้นที่คูณด้วย 650 - 800 BTU/ตร.ม. ขึ้นอยู่กับปัจจัยอืนๆ ด้วย เช่น เป็นอาคารกี่ชั้นผนังเป็นกระจกหรือเปล่า ฯลฯ

  • ขนาดพื้นที่ 10 - 14 ตารางเมตร ควรใช้เครื่อปรับอากาศขนาด 9,000 BTU
  • ขนาดพื้นที่ 14 - 19 ตารางเมตร ควรใช้เครื่อปรับอากาศขนาด 12,000 BTU
  • ขนาดพื้นที่ 21 - 28 ตารางเมตร ควรใช้เครื่อปรับอากาศขนาด 18,000 BTU
  • ขนาดพื้นที่ 26 - 34 ตารางเมตร ควรใช้เครื่อปรับอากาศขนาด 22,000 BTU
  • ขนาดพื้นที่ 29 - 38 ตารางเมตร ควรใช้เครื่อปรับอากาศขนาด 25,000 BTU
  • ขนาดพื้นที่ 36 - 46 ตารางเมตร ควรใช้เครื่อปรับอากาศขนาด 30,000 BTU

ตัวอย่างการคำนวณ

ปกติจะมีการคำนวณบวก ลบ ไม่เกิน 5% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับที่ตั้ง ตำแหน่งของห้องและลักษณะการใช้งาน ตัวอย่างเช่น ห้องนอน มีขนาด 20 ตารางเมตร มีการใช้งานในช่วงเวลากลางคืน ซึ่งห้องจะไม่มีความจากแสงแดด ทำให้ห้องไม่ร้อนเหมือนตอนกลางวัน มีผู้อยู่อาศัยในห้องนอนเพียง 1 ถึง 2 คนเท่านนั้นในห้อง และไม่มีการเปิดปิดห้องบ่อยเพราะห้องจะปิดสนิทเป็นเวลานานกว่า 6 ชั่วโมง ทำให้ภาระทำความเย็นของเครื่องปรับไม่มากนักใช้แค 600 BTU/ตร.ม.

แสดงวิธีการคำนวณ ดังนี้ 20 ตร.ม. x 600 BTU/ตร.ม. = 12,000 BTU ก็น่าจะเพียงพอแล้ว แต่อย่างไรก็ดี ควรปรึกษาช่างติดตั้งผู้เชียวชาญก่อนเลือกขนาดแอร์ เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อการใช้งาน

 

การเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ

ข้อคำนึงในการเลือกใช้เครื่องปรับอากาศ
1. ประเภทของเครื่องปรับอากาศ
เครื่องปรับอากาศ แบ่งออกเป็นประเภทตามลักษณะความต้องการใช้งาน ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจซื้อซึ่งแตกต่างกันไปทั้งฟังก์ชั่นการทำงาน คุณสมบัติต่างๆ รวมถึงราคา ดังนั้นควรเลือกสินค้าที่ราคาเหมาะสมกับคุณภาพและความต้องการใช้งานรวมทั้งได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรฒ
2. ขนาดของความเย็นของเครื่องปรับอากาศ
เป็นความสำคัญอันดับแรกๆ ในการเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ คือต้องเลือกขนาด การทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศให้พอเหมาะกับห้องและการใช้งาน โดยหน่วยความเย็นที่เรารู้จักกันดี เรียกว่า บีทียู
3. มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5
เป็นสินค้าที่ได้รับฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 จากหน่วยงานไฟฟ้า จะได้รับรองเรื่องของการประหยัดไฟ
4. คุณสมบัติพิเศษต่างๆ และการดีไซน์ออกแบบ
คุณสมบัติพิเศษต่างๆ ของเครื่องปรับอากาศ เช่น ฟิลเตอร์กรองอากาศ การกำหนดความเร็วความแรงของมอเตอร์ การปรับทิศทางลม การออกแบบเพื่อความสวยงามของห้องกับพื้นที่ห้อง
5. การติดตั้งและการบำรุงรักษา
การติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ต้องทำโดยช่างผู้ชำนาญเท่านั้น และการใช้เครื่องปรับอากาศให้เต็มประสิทธิภาพ ต้องคำนึงถึงแผนการบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องอีกด้วย

เครื่องปรับอากาศระบบอินเวอร์เตอร์

อินเวอร์เตอร์ คือ กลไกที่ควบคุมการปรับเปลี่ยนรอบความเร็วของคอมเพรสเซอร์ และเปลี่ยนความถี่ของกระแสไฟฟ้าให้เกิดการจ่ายกระแสไฟต่ำแร่ได้พลังงานสูงออกมาช่วยลดกำลังไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คุณสมบัติพิเศษ
  1. เป็นกลไกอีกระดับในการควบคุมการทำงานคอมเพรสเซอร์แบบสวิง ช่วยให้เกิดการจ่ายกระแสไฟต่ำแต่ได้พลังงานสูง จึงประหยัดไฟฟ้ามากกว่าเครื่อปรับอากาศธรรมดา 22-33%
  2. ระบบอินเวอร์เตอร์จะลดรอบการทำงานของคอมเพรสเซอร์ จึงควบคุมอุณหภูมิคงที่ ลดการใช้กำลังไฟได้อย่างชาญฉลาดและเย็นสบายอย่างต่อเนื่อง
  3. ควบคุมการหมุนของลูกสูบทำให้เกิดความราบเรียบ ทำให้เกิดการเสียดทานน้อย ควบคุมการจ่ายน้ำยาทำความเย็นเพื่อให้เกิดการสูญเสียน้อยที่สุด
  4. คอมเพรสเซอร์ทำงานเพียง 43 เดซิเบล
  5. ใช้ระบบอินเวอร์เตอร์ขับมอเตอร์คอมเพรสเซอร์จึงทำให้กินไฟน้อย เพิ่มประสิทธิภาพกว่า 2 แรงบิดโดยใช้แม่เหล็กนีโอไดเมี่ยม
  6. ระบบอินฟาเรดตรวจจับอุณหภูมิความเคลื่อนไหวภายในห้อง ระบบอินเวอร์เตอร์เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ผู้ใช้สามารถเลือกได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องความเย็น และพลังงานที่ใช้ เพราะว่าสามารถสร้างความเย็นสบายได้อย่างต่อเนื่องและประหยัดพลังงานมากกว่าเครื่องปรับอากาศมาตรฐาน 22-33% ดังนั้นแอร์ระบบระบบอินเวอร์เตอร์จึงเป็นเครื่องปรับอากาศที่ถูกสร้างสรรค์อย่างทันสมัยและเข้าใจเทคโนโลยี สามารถตอบสนองความต้องการได้ลงตัว
 
indoor-outdoor

เครื่องปรับอากาศขนาดเล็กที่ใช้กับบ้านพักอาศัยและสำนักงานทั่วไป สามารถแบ่งประเภทตามลักษณะการติดตั้งได้หลายประเภท เครื่องปรับอากาศทุกแบบจะสามารถแบ่งส่วนประกอบของเครื่อง ออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนที่อยู่ภายในอาคาร (Indoor) เรียกว่า ชุดคอยล์เย็น หรือแฟนคอยล์ยู่นิต และส่วนที่อยู่ภายนอกอาคาร (Outdoor) เรียกว่า ชุดคอยล์ร้อน หรือคอนเดนซิ่งยูนิต ซึ่งการทำงานของแต่ละส่วนก็จะมีลักษณะการทำงานที่คล้ายชื่อ คือ ชุดคอยล์เย็นก็จะมีหน้าที่สร้างความเย็น ส่วนชุดคอยล์ร้อนก็มีหน้าที่สร้างความร้อนออกมา และเครื่องปรับอากาศแต่ละชุดยังมีส่วนประกอบย่อยต่างๆ ซึ่งแต่ละส่วนประกอบของเครื่องต้องได้รับการดูแลบำรุงรักษาให้ถูกต้อง เหมาะสมกับสภาพการใช้งานของเครื่อง และนอกจากนี้แล้วยังต้องมีการดูแลบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมออีกด้วย

วิธีการดูแล บำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ

คอยล์เย็นหรือแฟนคอยล์ยูนิต เป็นตัวที่ติดตั้งอยู่ภายในห้องหรือภายในอาคาร มีส่วนประกอบย่อยที่จำเป็นต้องดูแลบำรุงรักษาและทำความสะอาด คือ

 
1. แผงกรองฝุ่น
ในเครื่องปรับอากาศทุกเครื่องจำเป็นต้องมีแผงกรองฝุ่นหรือฟิลเตอร์ เพราะฟิลเตอร์จะทำหน้าที่เป็นด่านแรกที่จะกรองอากาศโดยจะดักจับฝุ่นและสิ่งสกปรกอื่นๆ ที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศ ไม่ให้ผ่านเข้าไปยังตัวแผงขดท่อคอยล์เย็น และเป่าเข้าสู่บรรยากาศภายในห้องได้อีก ฟิลเตอร์โดยทั่วไปมีใช้กันอยู่หลายชนิด ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะขึ้นอยู่กับขนาดและรูปแบบของเครื่อง เช่น เป็นแบบใยสังเคราะห์สีขาวหรือดำ ลักษณะคล้ายเส้นด้ายในล่อน มีขอบเป็นโครงพลาสติก หรือเป็นแบบใยสังเคราะห์สีดำโครงของเป็นเหล็กเส้นลวด หรือเป็นแบบเส้นใยอลูมิเนียมถัก เราต้องดูแลทำความสะอาดฟิลเตอร์อยู่เสมอ เพื่อไม่ให้ฟิลเตอร์อุดตันไปด้วยฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกต่างๆ เพราะถ้าฟิลเตอร์อุดตันจะทำให้ลมไม่สามารถหมุนเวียนผ่านคอยล์เย็นได้ ซึ่งจะทำให้เครื่องปรับอากาศไม่เย็น มีน้ำแข็งเกาะที่ตัวคอยล์เย็นและอาจมีน้ำหยดจากตัวเครื่องได้ โดยที่ฟิลเตอร์มีจุดประสงค์เพื่อการกรองดักจับฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกต่างๆ ดังนั้นฟิลเตอร์จึงมีโอกาสอุดตันจากสิ่งเหล่านี้ได้มาก การล้างทำความสะอาด จึงควรทำให้บ่อยครั้ง โดยดูความเหมาะสมจากสภาพแวดล้อมและการใช้งาน เช่น ถ้าติดตั้งเครื่องปรับอากาศนห้อง หรือในอาคารที่มีลักษณะการทำงานที่มีฝุ่นละอองมาก เช่น ห้องเตรียมผ้าสำหรับใช้ในการผ่าตัด ซึ่งห้องนี้จะมีฝุ่นใยผ้าเกิดขึ้นจำนวนมาก ดังนั้นการล้างฟิลเตอร์ควรจะล้างทุกวัน หรืออย่างน้อยที่สุดทุกสัปดาห์ ส่วนการติดตั้งเครื่องปรับอากาศในสถานที่ไม่ค่อยมีฝุ่นละอองมากนัก เช่น ห้องนอน หรือห้องทำงานทั่วไป ก็ควรทำความสะอาดฟิลเตอร์ทุกๆ หนึ่งเดือน หรือสามเดือน
วิธีการล้องฟิลเตอร์ทำได้โดยใช้น้ำแรงๆ ฉีดที่หลังของฟิลเตอร์ (ด้านที่ไม่ได้รับฝุ่น) ให้ฝุ่นและสิ่งสกปรกหลุดออก หรือถ้าฟิลเตอร์เป็นแบบเส้นใยอลูมิเนียมถัก แบบเส้นใยไนล่อน ก็อาจใช้แปรงที่มีขนนิ่ม เช่น แปรงสีฟัน หรือแปรงทาสีช่วยปัดฝุ่นด้วยก็ได้
2. แผงท่อคอยล์เย็น
แผงขดท่อคอยล์เย็น คือ ตัวสร้างความเย็น มีรูปร่างเป็นเส้นท่อขดไปมาตามความยาวของเครื่อง และจะมีแผ่นครีบอลูมิเนียมบางๆ หุ้มขดท่อเหล่านั้นอยู่ แผงขดท่อจะมองเห็นได้อย่างชัดเจนเมื่อถอดหน้ากากส่งลม หรือหน้ากากรับลมกลับของเครื่องออก ที่แผ่งขดท่อนี้จะมีฝุ่นผงขนาดเล็กที่สามารถผ่านการกรองของฟิลเตอร์เข้ามาได้ เมื่อใช้งานไปนานๆ ฝุ่นเหล่านี้จะจับตัวกันหนาขึ้น และอากาศจะไม่สามารถผ่านได้ ซึ่งจะทำให้เครื่องปรับอากาศมีผลเช่นเดียวกันกับฟิลเตอร์ตัน จึงควรมีการล้างทำความสะอาดขดท่อและแผ่นอลูมิเนียม โดยในระยะเวลาในการล้างในรอบหนึ่งปี ควรมีการล้าง 1 ครั้ง
วิธีล้างทำความสะอาดให้ใช้แปรงสีฟัน หรือแปรงทาสี ปัดเอาฝุ่นที่เกาะยึดติดอยู่ให้ออกก่อน ด้วยการลากแปรงลงตามแนวล่องของแผ่นครีบอลูมิเนียมแล้วจึงค่อยเอาน้ำฉีดหรือราด เพื่อให้ฝุ่นที่เหลือหลุดตามน้ำออกมา แต่เนื่องจากฝุ่นละออกที่จับอยู่เป็นเวลานาน จะมีความเหนียวมาก บางครั้งอาจจำเป็นต้องใช้น้ำยาเคมีช่วยในการขจัดคราบสกปรกออก น้ำยาเคมีที่ใช้ต้องเป็นแบบที่ใช้กับเครื่องปรับอากาศ ซึ่งจะต้องไม่เป็นอันตรายต่อคน และไม่ทำลายวัสดุที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศ เช่น แผ่นอลูมิเนียม ท่อทองแดง หรือพลาสติก ในการเอาน้ำฉีด น้ำยาเคมีที่ใช้ต้องเป็นแบบที่ใช้กับเครื่องปรับอากาศหรือเวลาราดต้องระมัดระวังอย่างให้น้ำกระเด็นเปียกอุปกรณ์ไฟฟ้าของเครื่อง และควรระวังไม่ให้น้ำล้นถาดรองรับน้ำของเครื่อง
3. ใบพัดลมคอยล์เย็น
ใบพัดลมคอยล์เย็น หรือ โบลเวอร์ เป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการเคลื่อนที่ของลม โดยได้กำลังมาจากมอเตอร์ไฟฟ้า ฝุ่นผงขนาดเล็กที่เล็ดลอดมาจากการดักจับของแผงกรองอากาศบางส่วน จะมาจับอยู่ที่ใบพัดลม ทำให้ร่องดักลมของใบพัดลมอุดตันไม่สามารถดักลมได้เต็มที่ การเกิดในลักษณะเช่นนี้จะทำให้ปริมาณลมเย็นที่ออกไปจากคอยล์เย็นลดลง จึงต้องเสียเวลาในการเดินเครื่องปรับอากาศนานขึ้น เพื่อที่จะให้ได้อุณหภูมิของห้องเท่าเดิม ซึ่งมีผลทำให้เสียค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น นอกจากฝุ่นที่เกาะตามใบพัดลมจะทำให้พัดลมส่งลมเย็นออกมาได้น้อยแล้ว อาจจะทำให้เกิดเสียงดังที่ตัวชุดคอยล์เย็นขึ้นได้ เนื่องจากฝุ่นที่จับอยู่จะไปเพิ่มน้ำหนักให้กับใบพัด ทำให้ใบพัดเสียการสมดุลในตัวเอง และเมื่อมอเตอร์หมุนจะเกิดการสั่นสะเทือนจากแรงเหวี่ยงและเกิดเสียงดังขึ้นได้ การล้างทำความสะอาดใบพัด ควรล้างทำไปพร้อมกับการล้างทำความสะอาดแผงคอยล์เย็น
airfilter
4. ถาดรองรับน้ำทิ้งและท่อน้ำทิ้ง
เป็นอุปกรณ์สำหรับรองรับน้ำที่เกิดจากการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำของไอน้ำในอากาศภายในห้อง น้ำที่เกิดขึ้นนี้จะไหลไปรวมกันที่ถาดรองรับน้ำและถูกระบายทิ้งโดยผ่านทางท่อน้ำทิ้ง ที่ถาดรองรับน้ำทิ้งนี้ถ้าไม่ได้รับการดูแลหรือทำความสะอาดเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดเมือกขาวใสคล้ายวุ้น น้ำที่ขังในถาดรองรับน้ำทิ้งเป็นเวลานานนี้ เมื่อรวมกับฝุ่นละอองต่างๆ ที่เกาะอยู่ตามถาดรับ ก็อาจเป็นแหล่งอาหาร หรือเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค เชื้อรา และทำให้เชื้อโรคเชื้อราแหล่านี้เจริญเติบโตและแพร่กระจ่ายสู่ผู้ปฏิบัติงาน หรือผู้พักอาศัยภายในห้องและภายในอาคารได้ การทำความสะอาดถาดน้ำทิ้งโดยการใช้แปรงที่มีขนแข็งขัดถูหรือการถอดออกมาล้าง ส่วนท่อน้ำทิ้งทำได้โดยการใช้เครื่องเป่าลม เป่าเข้าไปตามท่อน้ำ หรือใช้น้ำที่มีแรงดันเล็กน้อยฉีดเข้าไปภายในท่อ
วิธีการล้างทำความสะอาดถาดรองรับน้ำและท่อน้ำทิ้ง ควรทำไปพร้อมกับการทำความสะอาดแผงขดท่อคอยล์เย็นและใบพัดลม และควรตรวจดูแนวท่อน้ำทิ้งด้วยว่ามีลักษณะโค้งงอ (ตกท้องช้าง) หรือไม่ ถ้ามีต้องทำการแก้ไข เพราะท่อน้ำทิ้งช่วงที่โค้งงอตกท้องช้าง จะเป็นแหล่งที่รวมของน้ำและสิ่งสกปรก ซึ่งจะทำให้ท่อน้ำทิ้งอุดตัน และจะทำให้มีน้ำหยดจากบริเวณที่ท่อตกท้องช้างได้ เนื่องจากไอน้ำในอากาศกระทบท่อที่น้ำเย็นขังอยู่
 
5. ตัวโครงเครื่อง หน้ากากรับลม และหน้ากากจ่ายลม
ทำความสะอาดโดยการปัดฝุ่น หรือใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดถู หรือถ้าสามารถถอดออกได้จะนำไปล้างน้ำก็ได้ คอยล์ร้อน หรือคอนเด็นซิ่งยูนิต เป็นตัวที่ติดตั้งอยู่ภายนอกห้องหรือภายนอกอาคาร ภายในชุดคอยล์ร้อนจะมีส่วนประกอบหลักอยู่สามส่วน คือ คอมแพรสเซอร์ มอเตอร์พัดลมพร้อมใบพัดลม และแผงขดท่อกับครีบอลูมิเนียม ชุดคอยล์ร้อนจะมีหน้าที่นำเอาความร้อนจากภายในห้องมาระบายออกทิ้งไป ดังนั้นลมที่เป่าออกมาจากคอยล์ร้อนจึงเป็นลมร้อน
การดูแลบำรุงรักษาคอยล์ร้อน จึงต้องทำให้เกิดการระบายความร้อนได้ดี โดยไม่มีวัตถุสิ่งของใดๆ มาปิดบังทิศทางของการระบายของลม และดูแลไม่ให้มีฝุ่นหรือสิ่งอื่นๆ มาปิดบัง โดยเฉพาะที่แผงขดท่อและแผ่นอลูมิเนียมของคอยล์ร้อน เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวขวางกั้นไม่ให้ลมเข้าไปรับความร้อนจากชุดคอยล์ร้อนได้ ระยะห่างระหว่างชุดคอยล์ร้อนกับสิ่งกีดขวางที่ยอมรับได้ จะถูกกำหนดโดยข้อกำหนดเฉพาะในการติดตั้งของเครื่องปรับอากาศแต่ละรุ่น ซึ่งรวมถึงการเผื่อพื้นที่ว่างเพื่อการดูและซ่อมบำรุงด้วย ถ้าคอยล์ร้อนสกปรก หรือมีสิ่งของมาปิดบังช่องทางการระบายลมทำให้ความร้อนไม่สามารถระบายออกมาได้แล้ว จะทำให้เครื่องปรับอากาศไม่มีความเย็น หรือเย็นน้อย กินกระแสไฟฟ้ามากกว่าปกติ และอาจทำให้คอมเพรสเซอร์เสียหายได้ การทำความสะอาดชุดคอยล์ร้อนควรล้างทุก 6 เดือน หรือทุก 12 เดือน
การดูแลสภาพทั่วไปของเครื่องอื่นๆ เช่น น๊อต สกรู ยางรองแท่นเครื่องต่างๆ อย่างให้หลุดหรือหลวม เพราะอาจทำให้เกิดเสียงดังจากการสั่นสะเทือนได้ ดูแลฉนวนที่ใช้ป้องกันความร้อนต่างๆ ถ้าพบว่าชำรุดฉีกขาดควรแก้ไขหรือซ่อมบำรุง เพราะถ้าฉนวนที่ใช้ป้องกันความร้อนชำรุด จะทำให้ไอน้ำในอากาศกลั่นตัวเป็นหยดน้ำในบริเวณนั้น และจะทำความเสียหายให้กับฉนวนส่วนอื่นๆ อีก หรือน้ำที่เกิดขึ้นนั้นจะหยดลงบนฝ้าเพดาน หรือตามผนังห้อง (ในกรณีที่ฉนวนหุ้มท่อสารทำความเย็น หรือท่อส่งลมเย็น หรือท่อน้ำเย็น ชำรุด) ทำให้เกิดรอยคราบสกปรก และเกิดเชื้อราขึ้นได้
เพื่อให้การใช้งาน การดูแลบำรุงรักษา และการตรวจซ่อมเครื่องปรับอากาศให้ถูกต้อง เหมาะสมกับสภาพและรูปแบบของเครื่องปรับอากาศแต่ละเครื่อง ควรศึกษาทำความเข้าใจเอกสารคู่มือที่ให้มาพร้อมกับเครื่องปรับอากาศและปฏิบัติตามคำแนะนำให้ถูกต้อง

ก่อนดำเนินการตรวจสอบดูแลบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศหรืออุปกรณ์ใดๆ ที่มีไฟฟ้าป้อนอยู่ ต้องปิดสวิตซ์ หรือเบรคเกอร์ ตัดวงจรของระบบไฟฟ้าออกก่อนทุกครั้งน่ะครับ

airclearn2
airmask
airclean1

แหล่งที่มา

www.kapook.com

เคล็ดลับน่ารู้ วิธีดูแลรักษาเครื่องปรับอากาศ

www.eakpai.com

บริการติดตั้งแอร์ เครื่องปรับอากาศ
 
Octbottom
 

เนื้อหาอื่นๆ...

  1. ปฐมฤกษ์ ต.ค.55